วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ฤกษ์แต่งงาน ๒๕๕๘ … ใครว่าง่ายๆ

ผมได้มีโอกาสวางฤกษ์แต่งงานให้กับบุตรของผู้หลักผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง
โดยมีข้อกำหนดว่า ข้อแรก เป็นพิธีแบบไทยผสมจีน
และข้อที่สอง คือต้องจัดให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียวกันของปี ๒๕๕๘

แล้วมีพิธีอะไรมั่งล่ะครับ” ผมตั้งคำถาม เพราะเรื่องแต่งงานเนี่ย
มีขั้นตอนเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นการสู่ขอ ยกขันหมาก รดน้ำสังข์
ปูที่นอน ส่งตัว เรียงหมอน ไปจนถึงการจดทะเบียนสมรส

ก็มียกขันหมากแบบไทย ยกน้ำชาแบบจีน กินเลี้ยงโต๊ะจีน
และสุดท้ายส่งตัวเข้าเรือนหอ” ท่านตอบตามที่ท่านเคยทำมาแล้ว

ความกังวลใจเริ่มผุดเข้ามาในสมอง เพราะหลักการวางฤกษ์แต่งงาน
ตามหลักโหราศาสตร์ไทยนั้น มีพิธีรีตรองค่อนข้างมาก
ทุกพิธีที่เกี่ยวข้อง ต้องพยายามทำให้ได้ตามเวลาที่ฤกษ์กำหนดไว้
ยิ่งถ้ามีพิธีมาก ส่วนใหญ่แล้ว มักจะไม่จบภายในวันเดียว

เริ่มจากการเจรจาสู่ขอเจ้าสาว ฤกษ์สู่ขอก็เป็นฤกษ์หนึ่ง
ซึ่งก็ควรจะเป็นคนละวันกับพิธีอื่นๆ
ถึงเวลายกขันหมาก เจ้าบ่าวก็ต้องออกจากบ้านตามฤกษ์
แล้วก็ต้องเข้าบ้านเจ้าสาวตามฤกษ์เช่นกัน
พอถึงเวลาหลั่งน้ำสังข์แบบไทยหรือยกน้ำชาแบบจีน
ก็ต้องเป็นอีกฤกษ์หนึ่ง ที่สำคัญมากในการเริ่มชีวิตสมรส
จนกระทั่งถึงพิธีส่งตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นเวลาที่สำคัญสำหรับเจ้าบ่าว
ก็อาจเป็นอีกวันหนึ่งเลยก็ได้
ก่อนหน้านั้นก็อาจต้องนอนเฝ้าเรือนหอคนเดียวไปก่อน

แล้วผมจะหาวันที่ดีเลิศในวันเดียวแบบนี้ได้ยังไงล่ะครับ
ผมขอวันเดือนปีเกิด จังหวัดเกิด และเวลาตกฟากของคู่บ่าวสาว
มาวิเคราะห์ดวงชะตากำเนิดเกี่ยวกับชิวิตสมรส
ปรากฎว่ามีชีวิตสมรสที่ไม่ค่อยมีความสุขนัก
ดังนั้นการได้ฤกษ์ที่ดี ก็อาจช่วยให้ชีวิตคู่มีความมั่นคงยั่งยืนขึ้น
มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น และมีความสุขมากขึ้นนั่นเอง

หลังจากนั้น ผมเริ่มดูวันที่มี “ดิถีเรียงหมอน” ประจำปี ๒๕๕๘
ซึ่งเป็นวันที่ใช้สำหรับวางฤกษ์ส่งตัว
ตามหลักโหราศาสตร์ไทยกำหนดให้เป็นวันขึ้น ๗, ๑๐, ๑๓ ค่ำ
หรือวันแรม ๔, , ๑๐, ๑๔ ค่ำ เท่านั้นครับ

และเนื่องจากต้องการให้พิธีเสร็จในวันเดียวกัน
ผมก็เลยต้องใช้วันขึ้นแรมข้างต้น มาหาลัคนาฤกษ์ของพิธีต่างๆ

เจ้าบ่าวยกขันหมากออกจากบ้านให้ใช้ “ฤกษ์ออก” ได้แก่
-อัศวินี, -ภรณี, -ปุนัพสุ, -บุษยะ, -อาศเลษา, ๑๔-จิตรา,
๑๕-สวาติ, ๑๖-วิศาขา, ๒๑-อุตราษาฒ, ๒๒-ศรวณะ หรือ ๒๓-ธนิษฐา

เจ้าบ่าวยกขันหมากเข้าบ้านเจ้าสาวให้ใช้ “ฤกษ์เข้า” ได้แก่
-กฤติกา, -โรหิณี, -มฤคศิระ, ๑๐-มาฆะ, ๑๑-บุรพผลคุนี,
๑๒-อุตรผลคุนี, ๑๗-อนุราธา, ๑๘-เชษฐา, ๑๙-มูลา,
๒๔-ศตภิษัช, ๒๕-บุรพภัทรบท หรือ ๒๖-อุตรภัทร

พิธีรดน้ำสังข์หรือยกน้ำชาเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุด
ดังนั้นต้องเป็นฤกษ์ที่สมบูรณ์ที่สุดทั้งลัคนาและฤกษ์จันทร์
เปรียบเหมือนเป็นดวงชะตากำเนิดของคน
ส่วนงานกินเลี้ยงเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น

ส่วนฤกษ์ส่งตัว นอกจากต้องเป็นวันที่มี “ดิถีเรียงหมอน” แล้ว
ยังต้องใช้ “ฤกษ์เข้า” อีกด้วย

ตามกฎเกณฑ์ที่กล่าวมา ผมพบว่า ในปีหน้านั้น วันที่เหมาะสมก็คือ

วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มีนาคม พ.. ๒๕๕๘ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะแม

เจ้าบ่าวเริ่มยกขันหมากออกจากบ้านระหว่างเวลา 8:22 – 8:34
ลัคนาฤกษ์คือ อัศวินี

เจ้าบ่าวเริ่มยกขันหมากเข้าบ้านเจ้าสาวระหว่างเวลา 9:28 – 10:43
ลัคนาฤกษ์คือ กฤติกา

เริ่มรดน้ำสังข์หรือยกน้ำชาโดยผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือของงาน
ระหว่างเวลา11:33 – 12:04 ลัคนาสถิตราศีเมถุน เทวีฤกษ์

หลังจากนั้นคู่บ่าวสาวก็สามารถรับประทานอาหาร พักผ่อน
และเริ่มเตรียมตัวสำหรับงานเลี้ยงได้ต่อไป

เมื่อเสร็จจากงานเลี้ยง ก็เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายคือ
พิธีส่งตัวเจ้าสาวเข้าสู่เรือนหอซึ่งเริ่มได้ระหว่าง22:42 – 23:45
ลัคนาฤกษ์คือ อนุราธา

ทั้งหมดนี้ เป็นพิธีแต่งงานและฤกษ์ต่างๆที่นิยมปฏิบัติกัน
ส่วนเวลาของทุกฤกษ์ที่กล่าวมา จะคำนวณที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น
ถ้าเป็นจังหวัดอื่นๆ ก็คงต้องคำนวณเวลากันใหม่
แต่คงแตกต่างกันไม่มากนัก

ส่วนใครต้องการนำฤกษ์นี้ไปใช้ ก็สามารถใช้ได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

มีรูปดวงชะตาแนบท้ายให้ด้วยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น