การให้ฤกษ์พิธีมงคลต่างๆ โหรจะบอกวันที่ที่สามารถทำพิธีได้แต่บางทีก็ไม่ได้บอกเวลา ส่วนฤกษ์คลอดนั้นนอกจากวันที่แล้ว โหรจะต้องบอกด้วยว่าเวลาตกฟากควรจะเป็นช่วงเวลาเท่าไร มีนิสัยใจคอเป็นอย่างไร มีชะตาชีวิตที่โดดเด่นเพียงใด
โหรที่ใช้หลักวิชาทางโหราศาสตร์ที่สำคัญได้ครอบคลุมที่สุด ย่อมสร้างโอกาสให้กับเด็กที่เกิดมาประสบความสำเร็จในชีวิตได้มากที่สุด และย่อมสร้างความน่าเชื่อถือให้ตนเองได้มากที่สุดเช่นกัน ส่วนจะมีการพิจารณาหลักเกณฑ์อะไบ้างนั้น ขออธิบายอย่างคร่าวๆ เพื่อให้เป็นการรู้เท่าทันโหร ถึงจะไม่เข้าใจรายละเอียดทั้งหมด แต่ก็พอจะเข้าใจได้ว่า โหรทำงานอย่างไรและการเลือกโหรที่ดีนั้น ดูได้จากเรื่องอะไรบ้าง
ลิ้งค์บทความที่เกี่ยวข้อง
1. ฤกษ์คลอด ตอนที่ ๖ - ปัญจมหาบุรุษโยค ดวงฤกษ์ของเจ้าคนนายคน
2. ฤกษ์คลอด ตอนที่ ๘ - วิชาการ (จบ)
1. สถานที่เกิด
โดยทั่วไปแล้ว เราจะใช้จังหวัดหรือเมืองในการบอกสถานที่เกิด แต่จะทราบได้อย่างไรว่าอยู่ ณ ที่ใดในโลก เพื่อให้ง่ายในการที่จะบอกตำแหน่ง เราจึงมีการกำหนดจุดตัดของเส้น 2 เส้นในแนวตั้งและแนวนอนตามรูปสัณฐานทรงกลมของโลก
เส้นแนวตั้ง เรียกว่า เส้นแวง(Longitude-ลองจิจูด)
จำได้ว่าตอนเด็กๆคุณครูสอนให้จำว่า "รุ้งตะแคงแวงตั้ง" ครับ
เส้นที่แบ่งโลกออกเป็นซีกบน(เหนือ)และล่าง(ใต้)เรียกว่า เส้นศูนย์สูตร(Equator)
เส้นที่แบ่งโลกซีกซ้าย(ตะวันตก)และขวา(ตะวันออก) เรียกว่า เส้นเมริเดียน(Meridian) ประชาคมโลกได้ตกลงกันว่าให้เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษเป็นเส้นเมริเดียนเส้นแรกที่ลากผ่าน
ทีนี้เนื่องจากโลกของเราเป็นทรงกลม ตามหลักวิชาเรขาคณิต ในวงกลมจะแบ่งได้เป็น 360 องศา ดังนั้นซีกเหนือ-ใต้และตะวันออก-ตะวันตกก็จะถูกแบ่งกันซีกละ 180 องศา
ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดกรุงเทพมหานครของเรา จะอยู่ เส้นรุ้งที่ 13 องศา 45 ลิปดา เหนือ เส้นแวงที่ 100 องศา 31 ลิปดา ตะวันออก โดยเทียบกับเมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ
ในทางโหราศาสตร์ "สถานที่เกิด" ใช้สำหรับการคำนวณเรื่อง "เวลานาฬิกา" ในหัวข้อถัดไป
2. เวลานาฬิกา
ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 1 วัน เท่ากับ 24 ชั่วโมง และเนื่องจากโลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม ดังนั้นโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ จึงเท่ากับ 360 องศา เท่ากับ 24 ชั่วโมง
ดังนั้นถ้าโลกหมุนไป 1 ชั่วโมงหรือ 60 นาที จะได้ระยะ = 360องศา/24ชั่วโมง = 15 องศา พูดง่ายๆว่า โลกหมุนรอบตัวเอง 1 ชั่วโมงได้ 15 องศา
ถ้าโลกเคลื่อนไป 1 องศา จะใช้เวลา = 60นาที/15องศา = 4 นาที หรือพูดง่ายๆว่า โลกหมุนรอบตัวเอง 4 นาทีได้ 1องศาพอดีเช่นกัน
แต่เพราะว่าแต่ละประเทศเห็นพระอาทิตย์ขึ้นและตกไม่เท่ากัน จึงมีการแบ่งเขตเวลาไว้เพื่อที่แต่ละประเทศจะได้เทียบเวลากันได้ โดยใช้เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษเป็นเขตแบ่งเช่นเดิม แล้วตกลงกันว่าประเทศไหนจะใช้เขตเวลาอะไร
เขตเวลาที่อยู่ทางตะวันตกของเมืองกรีนิช จะมีตั้งแต่ +1, +2, +3, ..., +12
เขตเวลาที่อยู่ทางตะวันออกของเมืองกรีนิช จะมีตั้งแต่ -1, -2, -3, ..., -12
ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยใช้เขตเวลา +7 หรือเร็วกว่าเมืองกรีนิช 7 ชั่วโมง นั่นหมายถึงจะใช้ตำแหน่งที่ 7ชั่วโมงx60นาที/4นาที = 105 องศาตะวันออกในการบอกเวลาของทั้งประเทศไทยซึ่งอยู่ที่ผาชนะได จังหวัดอุบลราชธานี
ได้กล่าวแล้วว่า กรุงเทพมหานครอยู่เส้นแวงที่ 100 องศา 31 ลิปดาตะวันออก ห่างจาก ผาชนะได 4 องศา 29 ลิปดา จึงสามารถกล่าวได้ว่า จริงๆแล้วเวลาที่กรุงเทพจะช้ากว่าผาชนะไดอยู่ 4นาทีx4องศา + 29ลิปดาx4นาที/60ลิปดา = 16 + 1.9333 = 17 นาที 56 วินาที
"เวลานาฬิกา" จะใช้สำหรับการคำนวณหา "ตำแหน่ง(สมผุส)ของดวงดาว"
3. เวลาอาทิตย์อุทัย
การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ไม่ได้เป็นวงกลม แต่มีลักษณะเป็นวงรี และแกนโลกก็ไม่ได้ตั้งในแนวดิ่ง แต่จะเอียงเล็กน้อยประมาณ 23.5 องศา จึงมีช่วงที่ซีกโลกเหนือและใต้อยู่ใกล้และไกลจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน จึงได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดเป็นฤดูกาลขึ้น
ช่วงที่ซีกโลกเหนือโคจรหันเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นฤดูร้อน ช่วงที่ซีกโลกเหนือโคจรหันออกจากดวงอาทิตย์ก็จะเป็นฤดูหนาว
ทีนี้เนื่องจากโลกของเราเป็นทรงกลม ตามหลักวิชาเรขาคณิต ในวงกลมจะแบ่งได้เป็น 360 องศา ดังนั้นซีกเหนือ-ใต้และตะวันออก-ตะวันตกก็จะถูกแบ่งกันซีกละ 180 องศา
ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดกรุงเทพมหานครของเรา จะอยู่ เส้นรุ้งที่ 13 องศา 45 ลิปดา เหนือ เส้นแวงที่ 100 องศา 31 ลิปดา ตะวันออก โดยเทียบกับเมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ
ในทางโหราศาสตร์ "สถานที่เกิด" ใช้สำหรับการคำนวณเรื่อง "เวลานาฬิกา" ในหัวข้อถัดไป
2. เวลานาฬิกา
ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 1 วัน เท่ากับ 24 ชั่วโมง และเนื่องจากโลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม ดังนั้นโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ จึงเท่ากับ 360 องศา เท่ากับ 24 ชั่วโมง
ดังนั้นถ้าโลกหมุนไป 1 ชั่วโมงหรือ 60 นาที จะได้ระยะ = 360องศา/24ชั่วโมง = 15 องศา พูดง่ายๆว่า โลกหมุนรอบตัวเอง 1 ชั่วโมงได้ 15 องศา
ถ้าโลกเคลื่อนไป 1 องศา จะใช้เวลา = 60นาที/15องศา = 4 นาที หรือพูดง่ายๆว่า โลกหมุนรอบตัวเอง 4 นาทีได้ 1องศาพอดีเช่นกัน
แต่เพราะว่าแต่ละประเทศเห็นพระอาทิตย์ขึ้นและตกไม่เท่ากัน จึงมีการแบ่งเขตเวลาไว้เพื่อที่แต่ละประเทศจะได้เทียบเวลากันได้ โดยใช้เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษเป็นเขตแบ่งเช่นเดิม แล้วตกลงกันว่าประเทศไหนจะใช้เขตเวลาอะไร
เขตเวลาที่อยู่ทางตะวันตกของเมืองกรีนิช จะมีตั้งแต่ +1, +2, +3, ..., +12
เขตเวลาที่อยู่ทางตะวันออกของเมืองกรีนิช จะมีตั้งแต่ -1, -2, -3, ..., -12
ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยใช้เขตเวลา +7 หรือเร็วกว่าเมืองกรีนิช 7 ชั่วโมง นั่นหมายถึงจะใช้ตำแหน่งที่ 7ชั่วโมงx60นาที/4นาที = 105 องศาตะวันออกในการบอกเวลาของทั้งประเทศไทยซึ่งอยู่ที่ผาชนะได จังหวัดอุบลราชธานี
ได้กล่าวแล้วว่า กรุงเทพมหานครอยู่เส้นแวงที่ 100 องศา 31 ลิปดาตะวันออก ห่างจาก ผาชนะได 4 องศา 29 ลิปดา จึงสามารถกล่าวได้ว่า จริงๆแล้วเวลาที่กรุงเทพจะช้ากว่าผาชนะไดอยู่ 4นาทีx4องศา + 29ลิปดาx4นาที/60ลิปดา = 16 + 1.9333 = 17 นาที 56 วินาที
"เวลานาฬิกา" จะใช้สำหรับการคำนวณหา "ตำแหน่ง(สมผุส)ของดวงดาว"
3. เวลาอาทิตย์อุทัย
การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ไม่ได้เป็นวงกลม แต่มีลักษณะเป็นวงรี และแกนโลกก็ไม่ได้ตั้งในแนวดิ่ง แต่จะเอียงเล็กน้อยประมาณ 23.5 องศา จึงมีช่วงที่ซีกโลกเหนือและใต้อยู่ใกล้และไกลจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน จึงได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดเป็นฤดูกาลขึ้น
ช่วงที่ซีกโลกเหนือโคจรหันเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นฤดูร้อน ช่วงที่ซีกโลกเหนือโคจรหันออกจากดวงอาทิตย์ก็จะเป็นฤดูหนาว
ถ้าเราสังเกตเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น ในแต่ละฤดูกาลจะขึ้นไม่ตรงกัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวดวงอาทิตย์จะขึ้นช้ากว่า แต่โดยเฉลี่ยแล้วเราอาจกล่าวได้ว่าดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6 นาฬิกา ทำให้โหรบางท่านใช้เวลานี้ในการคำนวณซึ่งไม่ค่อยจะถูกต้องนัก เพราะในความเป็นจริง เวลาพระอาทิตย์ขึ้นจะไม่เท่ากันตลอดทั้งปี
"เวลาอาทิตย์อุทัย" ใช้สำหรับคำนวณหา"ลัคนา"ที่แท้จริงของเจ้าชะตาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
"เวลาอาทิตย์อุทัย" ใช้สำหรับคำนวณหา"ลัคนา"ที่แท้จริงของเจ้าชะตาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ลิ้งค์บทความที่เกี่ยวข้อง
1. เรื่องของ"ลัคนา"
4. สมผุสหรือตำแหน่งของดาว
สงสัยหรือไม่ว่าในปฏิทินโหราศาสตร์ที่มีวางขายในร้านหนังสือที่บอกสมผุสดาวแต่ละดวงเป็นองศาลิปดานั้น คำนวณมาอย่างไร ? คำตอบคือได้มาจากสูตรคำนวณทางดาราศาสตร์
เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมในปฏิทินจึงแสดงสมผุสเพียงตำแหน่งเดียวต่อวัน ? คำตอบคือถ้าแสดงสมผุสทุกชั่วโมงนาที ก็จะต้องแสดงถึง 1440 บรรทัดต่อวัน ซึ่งคงไม่มีใครพิมพ์ออกมาขายแน่นอน
และเคยสงสัยหรือไม่ว่า สมผุสในปฏิทินเป็นสมผุสที่เวลาใด ? คำตอบคือบางเล่มเป็นสมผุสที่เวลาเที่ยงคืน บางเล่มก็แสดงสมผุสที่เวลา 7 โมงเช้า
ทำอย่างไรจึงจะสามารถทราบสมผุสดาวได้ตลอดเวลา ? เหมือนกับว่าเมื่อไรก็ตามที่เงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้าก็จะทราบสมผุสของดาวได้ทันที
ถ้าเราทราบสมผุสดาวตลอดเวลาทุกชั่วโมงนาที จะมีประโยชน์อย่างไร ? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องทราบ ? และเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทราบ ?
มีคำถามต่างๆมากมายที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับสมผุสในปฏิทิน แต่ก็ยังหาความกระจ่างไม่ได้ แต่ถ้ามีความพยายามรับรองว่าจะตอบปัญหาเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน
ความจริงในสมัยโบราณเรามีการคำนวณสมผุสดาวแบบที่เรียกว่า "พิชัยสงคราม" ซึ่งเป็นการคำนวณแบบละเอียดตามเวลาที่ต้องการ แต่โหรในปัจจุบันมักจะใช้วิธีเปิดปฏิทินแล้วนำสมผุสมาใช้เลยทันทีโดยไม่ทราบว่าอาจจะทำให้การคำนวณหาลัคนาหรือตัวแทนของเจ้าชะตาคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง โหรบางท่านก็ทราบเรื่องนี้ แต่ก็ละเลยไปเสีย
โหรที่สามารถคำนวณสมผุสแบบพิชัยสงครามได้ จะทราบดีว่านำไปใช้ในการพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำเพียงใด ยิ่งยุคนี้เป็นยุคที่มีเทคโนโลยีทันสมัย ถ้ามีโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยด้วยแล้ว รับรองได้เลยว่าจะไม่อยากกลับไปเปิดปฏิทินเป็นเล่มๆอีกเลย
5. ลัคนาที่แท้จริง
โดยปกติการคำนวณหาลัคนาแบบที่ใช้จานหมุน เพียงทราบเวลาตกฟาก สมผุสดาวอาทิตย์ ก็พอแล้ว และตั้งลูกศรให้ชี้ไปที่ 6 นาฬิกา แล้วอ่านค่าตรงตำแหน่งเวลาเกิดว่าตรงกับราศีใด ลัคนาก็คือราศีนั้น
ในความเป็นจริงเวลาอาทิตย์อุทัยและ เวลาตกฟากไม่ได้เป็นไปตามเวลาประเทศไทย ปัจจัยที่ทำให้แตกต่างกันก็คือสถานที่เกิด ดังนั้นถ้ามีการปรับเรื่องเวลา ก็จะทำให้การคำนวณหาลัคนามีความแม่นยำเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น
ในการคำนวณหาลัคนาที่แท้จริงนั้น สิ่งที่ต้องทราบก็คือ เวลาตกฟาก เวลาอาทิตย์อุทัย สมผุสดาวอาทิตย์ และสถานที่เกิด ในที่นี้จะไม่แสดงวิธีคำนวณ เนื่องจากมีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่จะสรุปขั้นตอนอย่างย่อๆเพื่อทำความเข้าใจเท่านั้น ถ้าสนใจจริงๆ อาจจะต้องลองค้นหาจากตำราโหราศาสตร์ไทยซึ่งคงมีน้อยมากที่จะแสดงวิธีคำนวณเช่นนี้
ในขั้นแรก ก็ต้องมีการปรับเรื่องเวลาตกฟากและเวลาอาทิตย์อุทัย ให้ตรงตามสถานที่เกิดเสียก่อน
ขั้นที่สอง ก็ควรจะปรับสมผุสของดาวอาทิตย์ให้ตรงตามเวลาตกฟากจริงๆ
ขั้นสุดท้าย เป็นการนำเวลาตกฟาก เวลาอาทิตย์อุทัย และสมผุสดาวอาทิตย์ที่ปรับแล้ว มาคำนวณ ก็จะได้ลัคนาที่แท้จริงตามความประสงค์
สำหรับผู้ที่มีโปรแกรมช่วยคำนวณ ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าปวดหัวอีกต่อไป แต่ต้องเลือกใช้โปรแกรมที่สามารถปรับการคำนวณให้เป็นไปตามเวลาจริงหรือคำนวณแบบพิชัยสงครามได้ด้วยนะครับ
ยังมีกฎเกณฑ์อีกหลายข้อที่ควรทราบและนำไปใช้ในการวางฤกษ์คลอดเพื่อให้มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ แต่ผมจะเขียนบรรยายให้ได้อ่านกันในตอนต่อไปครับ
1. เรื่องของ"ลัคนา"
4. สมผุสหรือตำแหน่งของดาว
สงสัยหรือไม่ว่าในปฏิทินโหราศาสตร์ที่มีวางขายในร้านหนังสือที่บอกสมผุสดาวแต่ละดวงเป็นองศาลิปดานั้น คำนวณมาอย่างไร ? คำตอบคือได้มาจากสูตรคำนวณทางดาราศาสตร์
เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมในปฏิทินจึงแสดงสมผุสเพียงตำแหน่งเดียวต่อวัน ? คำตอบคือถ้าแสดงสมผุสทุกชั่วโมงนาที ก็จะต้องแสดงถึง 1440 บรรทัดต่อวัน ซึ่งคงไม่มีใครพิมพ์ออกมาขายแน่นอน
และเคยสงสัยหรือไม่ว่า สมผุสในปฏิทินเป็นสมผุสที่เวลาใด ? คำตอบคือบางเล่มเป็นสมผุสที่เวลาเที่ยงคืน บางเล่มก็แสดงสมผุสที่เวลา 7 โมงเช้า
ทำอย่างไรจึงจะสามารถทราบสมผุสดาวได้ตลอดเวลา ? เหมือนกับว่าเมื่อไรก็ตามที่เงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้าก็จะทราบสมผุสของดาวได้ทันที
ถ้าเราทราบสมผุสดาวตลอดเวลาทุกชั่วโมงนาที จะมีประโยชน์อย่างไร ? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องทราบ ? และเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทราบ ?
มีคำถามต่างๆมากมายที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับสมผุสในปฏิทิน แต่ก็ยังหาความกระจ่างไม่ได้ แต่ถ้ามีความพยายามรับรองว่าจะตอบปัญหาเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน
ความจริงในสมัยโบราณเรามีการคำนวณสมผุสดาวแบบที่เรียกว่า "พิชัยสงคราม" ซึ่งเป็นการคำนวณแบบละเอียดตามเวลาที่ต้องการ แต่โหรในปัจจุบันมักจะใช้วิธีเปิดปฏิทินแล้วนำสมผุสมาใช้เลยทันทีโดยไม่ทราบว่าอาจจะทำให้การคำนวณหาลัคนาหรือตัวแทนของเจ้าชะตาคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง โหรบางท่านก็ทราบเรื่องนี้ แต่ก็ละเลยไปเสีย
โหรที่สามารถคำนวณสมผุสแบบพิชัยสงครามได้ จะทราบดีว่านำไปใช้ในการพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำเพียงใด ยิ่งยุคนี้เป็นยุคที่มีเทคโนโลยีทันสมัย ถ้ามีโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยด้วยแล้ว รับรองได้เลยว่าจะไม่อยากกลับไปเปิดปฏิทินเป็นเล่มๆอีกเลย
5. ลัคนาที่แท้จริง
แผ่นจานสำหรับหมุนหาลัคนาแบบกระดาษแข็งหุ้มพลาสติก |
ในความเป็นจริงเวลาอาทิตย์อุทัยและ เวลาตกฟากไม่ได้เป็นไปตามเวลาประเทศไทย ปัจจัยที่ทำให้แตกต่างกันก็คือสถานที่เกิด ดังนั้นถ้ามีการปรับเรื่องเวลา ก็จะทำให้การคำนวณหาลัคนามีความแม่นยำเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น
ในการคำนวณหาลัคนาที่แท้จริงนั้น สิ่งที่ต้องทราบก็คือ เวลาตกฟาก เวลาอาทิตย์อุทัย สมผุสดาวอาทิตย์ และสถานที่เกิด ในที่นี้จะไม่แสดงวิธีคำนวณ เนื่องจากมีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่จะสรุปขั้นตอนอย่างย่อๆเพื่อทำความเข้าใจเท่านั้น ถ้าสนใจจริงๆ อาจจะต้องลองค้นหาจากตำราโหราศาสตร์ไทยซึ่งคงมีน้อยมากที่จะแสดงวิธีคำนวณเช่นนี้
ในขั้นแรก ก็ต้องมีการปรับเรื่องเวลาตกฟากและเวลาอาทิตย์อุทัย ให้ตรงตามสถานที่เกิดเสียก่อน
ขั้นที่สอง ก็ควรจะปรับสมผุสของดาวอาทิตย์ให้ตรงตามเวลาตกฟากจริงๆ
ขั้นสุดท้าย เป็นการนำเวลาตกฟาก เวลาอาทิตย์อุทัย และสมผุสดาวอาทิตย์ที่ปรับแล้ว มาคำนวณ ก็จะได้ลัคนาที่แท้จริงตามความประสงค์
สำหรับผู้ที่มีโปรแกรมช่วยคำนวณ ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าปวดหัวอีกต่อไป แต่ต้องเลือกใช้โปรแกรมที่สามารถปรับการคำนวณให้เป็นไปตามเวลาจริงหรือคำนวณแบบพิชัยสงครามได้ด้วยนะครับ
ยังมีกฎเกณฑ์อีกหลายข้อที่ควรทราบและนำไปใช้ในการวางฤกษ์คลอดเพื่อให้มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ แต่ผมจะเขียนบรรยายให้ได้อ่านกันในตอนต่อไปครับ