บทความที่ผมเขียนไว้นั้นได้มีผู้สอบถามมากมายถึงวันที่มีฤกษ์ดี ผมก็เลยคิดว่าน่าจะเขียนบทความสรุปให้เลยจะดีกว่า ว่าทั้งปีพ.ศ.๒๕๖๐นั้น มีวันดีๆที่สามารถจัดงานพิธีต่างๆได้ และจัดได้ทั้งวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นยันพระอาทิตย์ตกดินนั้น มีวันใดบ้าง หลังจากที่ผมได้ตรวจดูแล้ว พบว่าบางวันที่ดูเหมือนจะเป็นวันดี แต่ก็ดีไม่ตลอดวัน วันเหล่านี้ผมก็จะตัดทิ้งไป เพื่อให้ง่ายในการดูสำหรับบุคคลทั่วไปครับ
ก่อนอื่นผมขอบอกวิธีการพิจารณาฤกษ์มงคลก่อนครับ
สำหรับผมแล้ว ผมจะพิจารณาโดยใช้ทั้งฤกษ์บน(ดาวบนท้องฟ้า)และฤกษ์ล่าง(วันต่างๆที่คำนวณโดยไม่ใช้สมผุสดาวต่างๆ) และทั้งสองแบบนี้จะต้องไม่ขัดแย้งกัน คือถ้าฤกษ์บนดี ฤกษ์ล่างต้องดีด้วย มาเริ่มกันเลย
กาลโยค
เป็นการกำหนดวันมงคลแต่ละปีที่นิยมใช้กันมานมนานกาเล ผมจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดคำนวณ แต่ขอบอกว่า กาลโยคจะเริ่มนับจากวันสงกรานต์เป็นต้นไปเป็นเวลา 1 ปี ถ้านับปีตามปฏิทินสากลโดยเริ่มจากเดือนมกราคมถึงธันวาคม วันมงคลตามหลักกาลโยคจะถูกแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ก่อนสงกรานต์ และหลังสงกรานต์
วันตามหลักกาลโยคจะแบ่งเป็น 4 แบบคือ
- วันธงชัย
- วันอธิบดี
- วันอุบาทว์
- วันโลกาวินาส
ถ้าวันใดเป็นเป็นวันธงชัยหรือวันอธิบดี วันนั้นจะสามารถจัดงานมงคลใดๆก็ได้ในปีนั้น แต่ถ้าวันใดเป็นวันอุบาทว์หรือวันโลกาวินาส วันนั้นไม่ควรประกอบพิธีมงคลใดๆทั้งสิ้น
กาลโยคก่อนสงกรานต์ปีพ.ศ.๒๕๖๐ ได้แก่
- วันเสาร์ เป็นวันธงชัย
- วันพุธ เป็นวันอธิบดี
- วันเสาร์ เป็นวันอุบาทว์
- วันเสาร์ เป็นวันโลกาวินาส
นั่นคือก่อนวันสงกรานต์ปีพ.ศ.๒๕๖๐ ไม่ควรจัดงานมงคลใดๆในวันเสาร์
กาลโยคหลังสงกรานต์ปีพ.ศ.๒๕๖๐ ได้แก่
- วันอังคาร เป็นวันธงชัย
- วันพฤหัส เป็นวันอธิบดี
- วันจันทร์ เป็นวันอุบาทว์
- วันเสาร์ เป็นวันโลกาวินาส
นั่นคือหลังวันสงกรานต์ปีพ.ศ.๒๕๖๐ ไม่ควรจัดงานมงคลใดๆในวันจันทร์และวันเสาร์
หมวดฤกษ์
มี 9 หมวดได้แก่ มหัทธโน โจโร ภูมิปาโล เทศาตรี เทวี เพชรฆาต ราชา สมโณ ทลิทโท ซึ่งคำนวณมาจากสมผุสของดวงดาวบนท้องฟ้า เรียกว่าเป็นฤกษ์บนนั่นเอง ส่วนวิธีการคำนวณ ผมไม่ขอกล่าวถึงอีกเช่นกัน เพราะยุ่งยากมากกว่ากาลโยคเสียอีก
ในจำนวนหมวดฤกษ์ทั้งหมดนี้ ผมกล่าวโดยสรุปก่อนว่า มหัทธโนฤกษ์ เทวีฤกษ์ และราชาฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่ใช้สำหรับการจัดงานมงคลทุกประเภท และโดยทั่วไปจะใช้สมผุสของดาวจันทร์(๒)เป็นหลักในการพิจารณาฤกษ์ครับ
ดิถีเรียงหมอน
เป็นวันข้างขึ้นหรือข้างแรมทางจันทรคติเพื่อใช้กำหนดวันส่งตัวคู่บ่าวสาวเข้าสู่เรือนหอ ใช้สำหรับพิธีแต่งงานเท่านั้น อาจไม่จำเป็นต้องตรงกับวันหมั้นหรือวันแต่งงานก็ได้
กฎเกณฑ์ก็คือวันขึ้น 7, 10, 13 ค่ำ และวันแรม 4, 8, 10, 14 ค่ำ จึงจะสามารถทำพิธีการส่งตัวเจ้าบ่าวเจ้าสาวได้ครับ
วันมงคลประจำปีพ.ศ.๒๕๖๐
จากหลักการข้างต้นผมขอสรุปวันที่ใช้ทำการมงคลได้ตลอดทั้งวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นยันพระอาทิตย์ตกดังนี้ครับ
x = ทำพิธีส่งตัวคู่บ่าวสาวได้ |
ถามค่ะ ญ 4 ต.ค 2523/ ช 6 ม.ค 2522
ตอบลบวันเสาร์ทั้งคู่ แต่งวันที่ 19 พ.ย ได้มั้ยคะ
สวัสดีค่ะอาจารย์ รบกวนสอบถามเรื่องฤกษ์ค่ะ ได้ฤกษ์มาวันที่ 12 พ.ย.60 ฝ่ายชายเกิดวันพุธที่ 14 มกราคม 2524 ปีระกา ฝ่ายหญิงเกิด วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2532 ปีมะเส็ง พอจะเปนฤกษ์ดีไหมค่ะอาจารย์ รบกวนด้วยค่ะ
ตอบลบขอปี 2561 ด้วยค่ะ
ตอบลบขอฤกษ์ปี 2561 ด้วยครับ
ตอบลบ