บทความที่ผมเขียนไว้นั้นได้มีผู้สอบถามมากมายถึงวันที่มีฤกษ์ดี ผมก็เลยคิดว่าน่าจะเขียนบทความสรุปให้เลยจะดีกว่า ว่าทั้งปีพ.ศ.๒๕๖๐นั้น มีวันดีๆที่สามารถจัดงานพิธีต่างๆได้ และจัดได้ทั้งวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นยันพระอาทิตย์ตกดินนั้น มีวันใดบ้าง หลังจากที่ผมได้ตรวจดูแล้ว พบว่าบางวันที่ดูเหมือนจะเป็นวันดี แต่ก็ดีไม่ตลอดวัน วันเหล่านี้ผมก็จะตัดทิ้งไป เพื่อให้ง่ายในการดูสำหรับบุคคลทั่วไปครับ
ก่อนอื่นผมขอบอกวิธีการพิจารณาฤกษ์มงคลก่อนครับ
สำหรับผมแล้ว ผมจะพิจารณาโดยใช้ทั้งฤกษ์บน(ดาวบนท้องฟ้า)และฤกษ์ล่าง(วันต่างๆที่คำนวณโดยไม่ใช้สมผุสดาวต่างๆ) และทั้งสองแบบนี้จะต้องไม่ขัดแย้งกัน คือถ้าฤกษ์บนดี ฤกษ์ล่างต้องดีด้วย มาเริ่มกันเลย
กาลโยค
เป็นการกำหนดวันมงคลแต่ละปีที่นิยมใช้กันมานมนานกาเล ผมจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดคำนวณ แต่ขอบอกว่า กาลโยคจะเริ่มนับจากวันสงกรานต์เป็นต้นไปเป็นเวลา 1 ปี ถ้านับปีตามปฏิทินสากลโดยเริ่มจากเดือนมกราคมถึงธันวาคม วันมงคลตามหลักกาลโยคจะถูกแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ก่อนสงกรานต์ และหลังสงกรานต์
วันตามหลักกาลโยคจะแบ่งเป็น 4 แบบคือ
- วันธงชัย
- วันอธิบดี
- วันอุบาทว์
- วันโลกาวินาส
ถ้าวันใดเป็นเป็นวันธงชัยหรือวันอธิบดี วันนั้นจะสามารถจัดงานมงคลใดๆก็ได้ในปีนั้น แต่ถ้าวันใดเป็นวันอุบาทว์หรือวันโลกาวินาส วันนั้นไม่ควรประกอบพิธีมงคลใดๆทั้งสิ้น
กาลโยคก่อนสงกรานต์ปีพ.ศ.๒๕๖๐ ได้แก่
- วันเสาร์ เป็นวันธงชัย
- วันพุธ เป็นวันอธิบดี
- วันเสาร์ เป็นวันอุบาทว์
- วันเสาร์ เป็นวันโลกาวินาส
นั่นคือก่อนวันสงกรานต์ปีพ.ศ.๒๕๖๐ ไม่ควรจัดงานมงคลใดๆในวันเสาร์
กาลโยคหลังสงกรานต์ปีพ.ศ.๒๕๖๐ ได้แก่
- วันอังคาร เป็นวันธงชัย
- วันพฤหัส เป็นวันอธิบดี
- วันจันทร์ เป็นวันอุบาทว์
- วันเสาร์ เป็นวันโลกาวินาส
นั่นคือหลังวันสงกรานต์ปีพ.ศ.๒๕๖๐ ไม่ควรจัดงานมงคลใดๆในวันจันทร์และวันเสาร์
หมวดฤกษ์
มี 9 หมวดได้แก่ มหัทธโน โจโร ภูมิปาโล เทศาตรี เทวี เพชรฆาต ราชา สมโณ ทลิทโท ซึ่งคำนวณมาจากสมผุสของดวงดาวบนท้องฟ้า เรียกว่าเป็นฤกษ์บนนั่นเอง ส่วนวิธีการคำนวณ ผมไม่ขอกล่าวถึงอีกเช่นกัน เพราะยุ่งยากมากกว่ากาลโยคเสียอีก
ในจำนวนหมวดฤกษ์ทั้งหมดนี้ ผมกล่าวโดยสรุปก่อนว่า มหัทธโนฤกษ์ เทวีฤกษ์ และราชาฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่ใช้สำหรับการจัดงานมงคลทุกประเภท และโดยทั่วไปจะใช้สมผุสของดาวจันทร์(๒)เป็นหลักในการพิจารณาฤกษ์ครับ
ดิถีเรียงหมอน
เป็นวันข้างขึ้นหรือข้างแรมทางจันทรคติเพื่อใช้กำหนดวันส่งตัวคู่บ่าวสาวเข้าสู่เรือนหอ ใช้สำหรับพิธีแต่งงานเท่านั้น อาจไม่จำเป็นต้องตรงกับวันหมั้นหรือวันแต่งงานก็ได้
กฎเกณฑ์ก็คือวันขึ้น 7, 10, 13 ค่ำ และวันแรม 4, 8, 10, 14 ค่ำ จึงจะสามารถทำพิธีการส่งตัวเจ้าบ่าวเจ้าสาวได้ครับ
วันมงคลประจำปีพ.ศ.๒๕๖๐
จากหลักการข้างต้นผมขอสรุปวันที่ใช้ทำการมงคลได้ตลอดทั้งวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นยันพระอาทิตย์ตกดังนี้ครับ
x = ทำพิธีส่งตัวคู่บ่าวสาวได้ |